ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงแต่หายาก ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะสินค้าโภคภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดและเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยในการลงทุนสำหรับเทรดเดอร
โดยทองคำมีการซื้อขายกันมานานหลายศตวรรษเนื่องจากลักษณะทางกายภาพอันเป็นเอกลักษณ์ ตั้งแต่การนำไปใช้ในเครื่องประดับไปจนถึงความต้องการสูงในภาคส่วนเทคโนโลยีสำหรับส่วนประกอบหลักในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ในบทความนี้ เราจะแนะนำเทรดเดอร์ให้รู้จักกับโลหะมีค่าที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกหลงใหลมานานหลายปี พร้อมทั้งอธิบายวิธีการทำงานของตลาดทองคำ และวิธีการที่เทรดเดอร์สามารถลงทุนและซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ดังกล่าวได้
ทุกวันนี้ มีการใช้ทองคำเป็นเครื่องประดับ การลงทุน หรือแม้แต่ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ยาและอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม ก็มีการใช้โลหะมีค่าเป็นสกุลเงินมาเป็นเวลานานแล้ว
แต่สิ่งใดเล่าที่ทำให้ทองคำมีความพิเศษเช่นนี้ เช่นว่าเหตุใดเงินหรือแพลเลเดียมจึงไม่ใช่โลหะมีค่าที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
ในขณะที่ผู้คนมักมองว่าทองคำมีเสน่ห์ดึงดูดในด้านสีและความสดใส (ความแวววาวอันเป็นเอกลักษณ์) เช่นเดียวกับคุณสมบัติในการถูกทำลายได้ยาก
ขณะเดียวกันทองคำยังหายากพอที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้ผู้ผลิตจำนวนมากหลั่งไหลเข้าสู่ตลาดและทำให้มูลค่าของทองคำลดลง แต่ก็มีจำนวนมากพอที่จะทำให้ตลาดมีสภาพคล่อง
นอกจากนี้มนุษย์ยังมีการเชื่อมโยงทางอารมณ์ความรู้สึกกับทองคำ และยังคงมีความสำคัญในหลากหลายวัฒนธรรมในปัจจุบันอีกด้วย
ทองคำถือเป็นหนึ่งในรูปแบบสกุลเงินที่เก่าแก่และน่าเชื่อถือที่สุดในโลก สำหรับเทรดเดอร์แล้ว มูลค่าที่แท้จริงของทองคำหรือความเย้ายวนใจของ "สินทรัพย์ที่ปลอดภัยในการลงทุน" ทำให้ทองคำเป็นการลงทุนที่ได้รับความนิยมและเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการกระจายพอร์ตการลงทุน
ทั้งนี้มีสองวิธีหลักในการลงทุนในทองคำด้วยกัน โดยวิธีการแรกคือการซื้อทองคำจริง หรือหุ้นในกองทุนรวมหรือกองทุนรวมดัชนีที่ติดตามราคาทองคำแบบเรียลไทม์
ในขณะที่วิธีการที่สองคือการใช้ประโยชน์จากความผันผวนของราคาในตลาดซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ และซื้อขายอนุพันธ์ที่เชื่อมโยงกับทองคำ เช่น สัญญาซื้อขายล่วงหน้า, CFD, สัญญาสิทธิ และอื่นๆ โดยอนุพันธ์ทองคำที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสองประเภท ได้แก่ CFD ทองคำและสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า
ทองคำมีการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ (OTC) และในตลาดแลกเปลี่ยนเป็นหลัก โดยลอนดอนถือเป็นศูนย์กลางระดับสากลสำหรับตลาด OTC ซึ่งผู้มีส่วนร่วมในตลาดทำการซื้อขายระหว่างกันโดยตรง แม้ว่าตลาดนี้จะมีการควบคุมน้อยกว่าและมีความยืดหยุ่นในระดับที่สูงกว่า แต่ความเสี่ยงของคู่สัญญาก็สูงกว่าด้วยเช่นกัน
ในขณะที่ตลาดแลกเปลี่ยนเป็นแพลตฟอร์มที่มีการควบคุมและดำเนินการซื้อขายผ่านคนกลาง โดยมักจะเสนอสัญญาที่เป็นมาตรฐานซึ่งจะไม่เหมาะกับเทรดเดอร์ทุกราย เนื่องจากเป็นการจำกัดความยืดหยุ่น
ทั้งนี้นอกเหนือจากลอนดอนแล้ว ศูนย์กลางการซื้อขายทองคำที่สำคัญอีกสองแห่ง ได้แก่ นครนิวยอร์กและเซี่ยงไฮ้ โดยตลาดแลกเปลี่ยน COMEX ตั้งอยู่ในนครนิวยอร์ก ในขณะที่ Shanghai Gold Exchange ตั้งอยู่ในเซี่ยงไฮ้
สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ที่ต้องการซื้อและขายทองคำเป็นสินทรัพย์ปกติในพอร์ตการลงทุน กลยุทธ์และสินทรัพย์ต่างๆ ในการซื้อขายทองคำถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โปรดอ่านหัวข้อนี้เพื่อเรียนรู้ขั้นตอนพื้นฐานในการเริ่มต้นซื้อขายทองคำ
"การลงทุนในทองคำเป็นเรื่องราวเก่าแก่ที่มีมาอย่างยาวนาน ด้วยอุปทานที่จำกัด แต่มีอุปสงค์อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมทองคำเป็นโลหะมีค่าที่มีการซื้อขายมากที่สุดในโลก"
Michael Kuchar - CEO ของ Trading Beasts, และนักยุทธศาสตร์ด้านการซื้อขายสกุลเงินและทองคำ
ค้นพบวิธีต่างๆ ที่เทรดเดอร์สามารถเข้าถึงตลาดทองคำได้ ไม่ว่าพวกเขาจะสนใจในการซื้อขายหรือลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทโลหะมีค่าก็ตาม
การซื้อขาย CFD เป็นการเก็งกำไรจากราคาที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงของตลาดการเงินทั่วโลก เช่น ดัชนี สินค้าโภคภัณฑ์ หุ้น หรือสกุลเงินดิจิทัล การซื้อขาย CFD จึงเป็นสัญญาระหว่างนักลงทุนและโบรกเกอร์เพื่อชำระส่วนต่างในมูลค่าของสินทรัพย์หรือเครื่องมือทางการเงินตลอดระยะเวลาของสัญญา
ในขณะที่ปิดสัญญา (การซื้อขาย) หากราคาสูงกว่าราคาเปิด จะมีผลตอบแทนเป็นบวกสำหรับผู้ซื้อ โดยผู้ขายจะต้องชำระเงินส่วนต่างให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งจะถือเป็นกำไรของผู้ซื้อ ซึ่งจะเป็นจริงเช่นเดียวกันในทางตรงกันข้าม หากราคาซื้อขายต่ำกว่าราคาเปิดและผู้ซื้อจะขาดทุน
บทความสำหรับอ่านที่แนะนำ: CFD คืออะไร
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าคือสัญญาที่จะซื้อหรือขายสินทรัพย์ใดๆ ในราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในเวลาที่กำหนดในอนาคต โดยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นที่นิยมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบรรดาเทรดเดอร์ระยะสั้นที่ต้องการเก็งกำไรจากทิศทางของราคาทองคำ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันความเสี่ยงได้ เช่น นักลงทุนที่ถือครองทองคำจริงจะไม่ต้องการขายทองคำเหล่านั้นบ่อยๆ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่นักลงทุนจะขายทองคำเพื่อทำกำไรจากระยะเสื่อมถอย ในขณะที่ยังคงถือครองทองคำจริงไว้เป็นการลงทุนระยะยาว
กองทุนรวมดัชนีเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากถือเป็นวิธีที่คุ้มค่าในการลงทุนในสินทรัพย์บางประเภท โดย ETF ทองคำอาจเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในทองคำ ในขณะที่ยังคงสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมให้ต่ำได้
เหรียญทองคำยังคงได้รับความนิยมอยู่ โดยเหรียญทองคำที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 5 ประเภท ได้แก่ Krugerrand (แอฟริกาใต้), American Eagle (สหรัฐอเมริกา), Canadian Maple (แคนาดา), Australian Nugget (ออสเตรเลีย) และ Chinese Panda (จีน) ส่วนข้อเสียคือเหรียญทองคำเหล่านั้นจะถูกขายในราคาที่แพงกว่าปกติเสมอ และนักลงทุนต้องจัดเก็บเหรียญทองคำอย่างเหมาะสมซึ่งอาจเพิ่มต้นทุนได้ (ตัวอย่างเช่น การซื้อตู้นิรภัยหรือการเช่าตู้นิรภัยในธนาคาร)
ทองคำแท่งมีให้เลือกหลายขนาด โดยมีค่าดำเนินการต่ำกว่าเล็กน้อย และตลาดทองคำแท่งมีสภาพคล่องมากกว่าเหรียญ
หุ้นเหมืองทองคำสามารถซื้อขายหรือลงทุนผ่านหุ้น, CFD ของหุ้น หรือ ETF แต่ละรายการที่ประกอบด้วยพอร์ตการลงทุนของผู้ขุดเหมืองทองคำ
มีหลายปัจจัยที่อาจส่งผลต่อราคาทองคำ แต่ปัจจัยต่างๆ ต่อไปนี้ถือเป็นปัจจัยหลัก:
โดยทั่วไปแล้วหลายคนมักมองว่าโลหะมีค่าเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยในการลงทุน และราคามีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นในช่วงเวลาของความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศ
ในช่วงเวลาที่นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น โดยทั่วไปแล้วทองคำจะแข็งค่าขึ้น เนื่องจากการถือครองเงินสดกลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจน้อยลง
ทองคำและดอลลาร์สหรัฐมีความสัมพันธ์แบบผกผัน ดังนั้น ความคาดหวังที่จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกาจะทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และทำให้ทองคำตกอยู่ภายใต้แรงกดดัน ในอีกแง่หนึ่ง หากความคาดหวังในอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกาลดลง ดอลลาร์สหรัฐอาจอ่อนค่าลงในขณะที่ราคาทองคำปรับตัวขึ้นแทน
แม้ว่าการซื้อ ETF ทองคำหรือการซื้อขาย CFD และสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้าจะกลายเป็นที่นิยม แต่ก็ยังคงมีการใช้ทองคำจริงในการผลิตเครื่องประดับและการลงทุนต่างๆ (เช่น เหรียญทองคำและทองคำแท่ง) โดยความต้องการในผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก็จะส่งผลต่อราคาทองคำด้วยเช่นกัน
ค้นพบข้อดีและข้อเสียของการซื้อขายโลหะมีค่าที่ปลอดภัยในการลงทุน
ก่อนที่เทรดเดอร์จะเริ่มซื้อขายทองคำ พวกเขาควรเข้าใจลักษณะของสินทรัพย์ประเภทนี้ ความสัมพันธ์กับเครื่องมือในการซื้อขายอื่นๆ (เช่น หุ้นและพันธบัตร) และความเหมาะสมกับกลยุทธ์การซื้อขายของตน
เมื่อเทรดเดอร์ตัดสินใจแล้วว่าต้องการเริ่มต้นซื้อขายทองคำเมื่อใด พวกเขาก็ควรค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมที่สุดตามรูปแบบและกลยุทธ์การซื้อขายของตน โดยเทรดเดอร์บางรายจะได้รับประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ CFD ของสปอตซึ่งมีค่าสเปรดที่ต่ำกว่า ในขณะที่เทรดเดอร์รายอื่นจะชื่นชอบผลิตภัณฑ์ CFD ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งมีค่าสเปรดสูงกว่าแต่ไม่ต้องเสียค่าสวอปรายวัน
หลังจากพิจารณาแล้วว่าผลิตภัณฑ์ใดเหมาะสมกับเทรดเดอร์ที่สุด พวกเขาควรทดสอบว่ากลยุทธ์ของตนทำงานได้ดีหรือไม่เมื่อทำการซื้อขายสินทรัพย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมการทดลองที่ปราศจากความเสี่ยง ซึ่งเทรดเดอร์อาจพบว่าความผันผวนของทองคำสูงหรือต่ำเกินไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบในการซื้อขาย
FAQ
Axi ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถฝากเงินเริ่มต้นเพียง $50 และเริ่มต้นซื้อขายทองคำได้ทันที อย่างไรก็ตาม การฝากเงิน $500 จะทำให้เทรดเดอร์มีตัวเลือกมากขึ้นในการซื้อขาย
การซื้อขายทองคำในรูปแบบ CFD ช่วยให้เทรดเดอร์ใช้ประโยชน์จากเลเวอเรจ ซึ่งหมายความว่าพวกเขาสามารถใช้เงินทุนเพียงเล็กน้อยเพื่อเปิดสถานะการซื้อขายขนาดใหญ่ขึ้นได้ แม้ว่าเลเวอเรจจะสร้างศักยภาพสำหรับผลกำไรที่มากขึ้น แต่ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะขาดทุนได้มากกว่ามาร์จิ้นในบัญชีของเทรดเดอร์
เพื่อช่วยให้เทรดเดอร์พัฒนากลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงที่แข็งแกร่ง เราจึงมีบัญชีทดลองใช้งานฟรีที่อนุญาตให้ซื้อขายด้วยเงินทุนเสมือนเป็นเวลา 30 วัน โดยเทรดเดอร์สามารถอัปเกรดเป็นบัญชีซื้อขายจริงได้ฟรีในขณะที่ยังคงเข้าถึงบัญชีทดลองของตนได้อยู่
สัญลักษณ์ย่อสำหรับทองคำคือ XAU โดยตัวอักษร "X" หมายถึง "ดัชนี" ในขณะที่ 'AU' เป็นสัญลักษณ์ทางเคมีของทองคำและย่อมาจาก 'Aurum' ซึ่งเป็นคำในภาษาละตินสำหรับทองคำ
การใช้สัญลักษณ์ย่อทำให้สามารถค้นหาผลิตภัณฑ์บนแพลตฟอร์มการซื้อขาย MT4 ได้ง่าย โดย Axi ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถซื้อขายทองคำได้ในรูปแบบ CFD เทียบกับ USD, AUD, CHF, EUR และ GBP ทั้งนี้การซื้อขายทองคำเทียบกับดอลลาร์สหรัฐจะแสดงเป็น XAU/USD หากเทรดเดอร์ซื้อ XAU/USD พวกเขาจะซื้อทองคำและขายดอลลาร์สหรัฐ แต่หากเทรดเดอร์ขาย XAU/USD พวกเขาจะขายทองคำเป็นดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อทำการซื้อขาย CFD ของสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า สัญลักษณ์จะแสดงเป็น 'GOLD.fs'
ไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลตลาดทองคำทั่วโลก อย่างไรก็ตาม หน่วยงานกำกับดูแลในท้องถิ่นยังคงมีอิทธิพลต่อการซื้อขายที่ดำเนินการภายในเขตอำนาจศาลของตน นอกจากนี้ยังมีหลักจรรยาบรรณโดยสมัครใจที่ผู้มีส่วนร่วมในตลาดจำนวนมากยึดถือปฏิบัติอีกด้วย
ตัวอย่างเช่น FCA (หน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงิน) กำลังกำกับดูแลการดำเนินงานของ LME ซึ่งมีการซื้อขายสัญญาทองคำอยู่ตลอดเวลา โดยราคาทองคำของ LBMA ก็อยู่ในขอบเขตอำนาจศาลของ FCA ด้วยเช่นกัน