• /int
  • /eu
  • /uk
  • /au
  • http://www.axi.group/ar-ae
  • http://www.axi.group/en-ae
  • http://www.axiedge.site/en-my
  • http://www.axiedge.site/cn
  • http://www.axiedge.pro/chn
  • /es-mx
  • /fr-ma
  • http://www.edge-cn.co/id
  • /it-ch
  • /jp
  • /kr
  • /pl
  • /pt
  • /th
  • /tw
  • http://www.axiedge.website/vn
  • /zh-au
  • /za
  • http://www.solarisih.com/vu
Form not found

การซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์คืออะไรและมีวิธีการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์อย่างไร

Commodities /
Milan Cutkovic

สินค้าโภคภัณฑ์คืออะไร

สินค้าโภคภัณฑ์เป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่สามารถซื้อหรือขายได้ในตลาดเปิด

สินค้าโภคภัณฑ์สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่ สินค้าโภคภัณฑ์แบบอ่อนและสินค้าโภคภัณฑ์แบบแข็ง สินค้าโภคภัณฑ์แบบอ่อนคือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น โกโก้ กาแฟ น้ำตาล ข้าวสาลี ฝ้าย และ ถั่วเหลือง สินค้าโภคภัณฑ์แบบแข็งจะถูกสกัดจากผืนโลก เช่น โลหะมีค่าต่างๆ (ทอง โลหะเงิน แพลเลเดียม แร่เหล็ก ทองแดง) และผลิตภัณฑ์พลังงาน (น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ยูเรเนียม)

ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์นั้นก็เหมือนกันกับราคาของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ซึ่งถูกกำหนดโดยอุปทานและอุปสงค์ อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยเฉพาะที่สามารถมีอิทธิพลต่อราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น สินค้าเกษตรจะได้รับผลกระทบอย่างมากจากสภาพอากาศ (ภัยแล้ง ฝนตกหนัก และภัยธรรมชาติ)

ผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น น้ำมัน อาจมีการแกว่งตัวของราคาอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์การเมือง เช่น ความขัดแย้งหรือสงครามที่เกิดขึ้นในประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ ราคาน้ำมันยังได้รับอิทธิพลอย่างมากจากการตัดสินใจของ OPEC ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทที่ประกอบด้วยประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกด้วยเช่นกัน

สินค้าโภคภัณฑ์มักทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในสินค้าต่างๆ (ตัวอย่างเช่น ลิเทียมถูกนำมาใช้ในการผลิตโทรศัพท์มือถือ) และมีการกำหนดมาตรฐานสำหรับคุณภาพและปริมาณ ซึ่งทำให้ง่ายต่อการซื้อขาย

 

ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์คืออะไร

ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์เป็นสถานที่ที่ผู้ซื้อและนักลงทุนพบกันเพื่อซื้อและขายสินค้าโภคภัณฑ์ (ทั้งแบบแข็งและแบบอ่อน)

สินค้าโภคภัณฑ์มีการซื้อขายในตลาดสองประเภท คือ

  • ตลาดสปอตสินค้าโภคภัณฑ์หรือที่เรียกว่าตลาดจริง ซึ่งเป็นที่ที่มีการซื้อและขายสินค้าเพื่อจัดส่งทันที
  • ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์อนุพันธ์เป็นการแลกเปลี่ยนแบบรวมศูนย์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ขึ้นอยู่กับสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ มีการซื้อขายในรูปแบบของสัญญาฟิวเจอร์ส ฟอร์เวิร์ด และออปชัน

การแลกเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญ:

  • Chicago Mercantile Exchange (CME) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1898 ในชื่อ Chicago Butter and Egg Board โดยพัฒนาเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปจนกลายเป็นหนึ่งในการแลกเปลี่ยนทางการเงินที่สำคัญที่สุดทั่วโลก นอกเหนือจากสินค้าโภคภัณฑ์แล้ว ยังมีความเชี่ยวชาญในอัตราดอกเบี้ยตราสารทุนและสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสกุลเงินด้วย ในขณะที่มากกว่า 90% ของปริมาณการซื้อขายบน CME เกิดขึ้นในระบบอิเล็กทรอนิกส์ การแลกเปลี่ยนนี้ก็ยังคงทำการซื้อขายด้วยวิธีตะโกนและทำสัญญาณมือกันในห้องค้า ซึ่งเทรดเดอร์บนชั้นซื้อขายจะบอกคำสั่งซื้อ
  • Tokyo Commodity Exchange (TOCOM) เป็นตลาดซื้อขายฟิวเจอร์สสินค้าโภคภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นและเป็นหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1984 เนื่องจากการควบรวมกิจการ TOCOM เสนอสัญญาฟิวเจอร์สสำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตั้งแต่โลหะมีค่าและน้ำมันไปจนถึงสินค้าโภคภัณฑ์
  • London Metal Exchange (LME) เป็นตลาดซื้อขายฟิวเจอร์สที่สำคัญที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์โลหะ มีอนุพันธ์ทางการเงินสำหรับอะลูมิเนียม ทองแดง สังกะสี นิกเกิล ตะกั่ว ดีบุก และอื่นๆ ในขณะที่การซื้อขายส่วนใหญ่ทำกันผ่านวิธีอิเล็กทรอนิกส์ แต่ก็เป็นเพียงการแลกเปลี่ยนเดียวในยุโรปที่ยังคงใช้ชั้นการซื้อขายกันในห้องค้า
  • New York Mercantile Exchange (NYMEX) เป็นตลาดซื้อขายฟิวเจอร์สที่สำคัญซึ่งตั้งอยู่ในเมืองนิวยอร์กและเป็นของ CME Group มีความเชี่ยวชาญในผลิตภัณฑ์พลังงาน เช่น ถ่านหิน ไฟฟ้า น้ำมันดิบ น้ำมันร้อน ก๊าซธรรมชาติ และโพรเพน

 

การซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์คืออะไร

เมื่อคุณซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ คุณกำลังเก็งกำไรจากการเปลี่ยนแปลงราคาของสินทรัพย์ทางกายภาพดิบ เช่น ทองคำหรือน้ำมัน หลายปัจจัย โดยเฉพาะอุปทานและอุปสงค์ จะส่งผลกระทบต่อราคาตลาด

การทำความเข้าใจผู้เล่นในตลาดและเป้าหมายของตนเป็นขั้นตอนแรกในการทำความเข้าใจว่าการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์คืออะไร

มีเทรดเดอร์และบริษัทหลายล้านแห่งที่มีส่วนร่วมในการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลก โดยมีเป้าหมายที่หลากหลาย แต่เราสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ผู้ถัวความเสี่ยงและนักเก็งกำไร

1. ผู้ถัวความเสี่ยง

ผู้ถัวความเสี่ยงหรือเฮดเจอร์คือบุคคลหรือบริษัทที่ซื้อขายในตลาดทางกายภาพและอนุพันธ์ ผู้ถัวความเสี่ยงส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ ผู้ค้าส่ง และผู้ค้าปลีกสินค้าที่ผลิต พวกเขาทั้งหมดมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือ พวกเขาได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์

เพื่อลดความเสี่ยงนี้ พวกเขาจึงใช้อนุพันธ์ทางการเงิน เช่น ฟิวเจอร์ส เป้าหมายของพวกเขาไม่ใช่เพื่อทำกำไรจากการเก็งกำไร แต่เพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียที่เกิดจากความผันผวนของราคาในสินค้าโภคภัณฑ์ที่ตนจัดการ

ลองนึกภาพชาวนาที่กำลังเก็บข้าวโพดจำนวนมาก เนื่องจากมีการเก็บเกี่ยวจำนวนมาก เมื่อถึงเวลาที่เขาขาย ราคาข้าวโพดก็อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลง เพื่อป้องกันตัวเองจากความผันผวนของราคา เกษตรกรสามารถขายข้าวโพดในตลาดซื้อขายฟิวเจอร์สได้ หากราคาลดลง เขาก็จะมีรายได้น้อยลงจากการขายข้าวโพดทางกายภาพ แต่กำไรที่เขาได้จากสถานะของเขาในตลาดฟิวเจอร์สจะชดเชยเรื่องนั้นให้ หากราคาสูงขึ้น สถานะฟิวเจอร์สของเขาจะทำให้ขาดทุน แต่เขาจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายข้าวโพดจริงๆ แทน

ผลก็คือ ผู้ถัวความเสี่ยงไม่ได้ตั้งหน้าตั้งตามองหากำไรจากตลาดฟิวเจอร์ส แต่มุ่งมั่นที่จะปกป้องตัวเองจากการเปลี่ยนแปลงราคาที่ไม่พึงประสงค์

2. การเก็งกำไร

นักเก็งกำไรเป็นประเภทใหญ่ที่มีทุกอย่าง ตั้งแต่เทรดเดอร์รายย่อยที่จัดการเงินออมไปจนถึงกองทุนป้องกันความเสี่ยงมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ พวกเขาทั้งหมดมีเป้าหมายเดียวกันก็คือ เพื่อสร้างรายได้โดยการคาดการณ์ความผันผวนของราคา นักเก็งกำไรเป็นผู้เข้าร่วมตลาดที่สำคัญ เพราะการดำเนินงานของพวกเขาเพิ่มสภาพคล่องและปรับปรุงประสิทธิภาพของตลาด

อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เปลี่ยนแปลง

  • อุปทานและอุปสงค์: กฎพื้นฐานของตลาดคือเมื่อความต้องการเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับรายได้และประชากร ต้นทุนการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ และการกระทำของรัฐบาลและองค์กรผู้ผลิต
  • การผลิตสินค้าโภคภัณฑ์: การผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางธรรมชาติ เช่น สภาพอากาศและสภาพพืชพื้นที่เพาะปลูก ข้อจำกัดทางการค้า เงินอุดหนุน ภาษี และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิต เช่น รูปแบบแรงงานและการพัฒนาเครื่องมือและเทคโนโลยีการเกษตร
  • ต้นทุนการผลิต: ต้นทุนการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์นั้นรวมถึงวัตถุดิบ แรงงาน การวิจัยและพัฒนา การประกันภัย ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ภาษีและอื่นๆ อีกมากมาย การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิตจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาของสินค้าที่ผลิต
  • การเติบโตทางเศรษฐกิจ: ความเจริญรุ่งเรืองของประเทศจะบ่งบอกถึงกำลังซื้อของประชากร ผลกระทบนี้เห็นได้ชัดมากขึ้นในประเทศที่เป็นผู้ผลิตหรือผู้บริโภครายใหญ่ เมื่อเศรษฐกิจเติบโตและขยายตัวเป็นเมือง ผู้คนก็มักจะบริโภคสินค้าโภคภัณฑ์มากขึ้น

 

การซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์มีขั้นตอนอย่างไร

การซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์เกิดขึ้นผ่านสิ่งที่เรียกว่าสัญญาการซื้อขายส่วนต่าง (CFD) การซื้อขาย CFD เป็นเพียงข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเพื่อทำธุรกรรมให้เสร็จสมบูรณ์ตามราคาและเวลาที่กำหนด

CFD ไม่ได้ให้คุณเป็นเจ้าของสินทรัพย์อ้างอิงนั้นๆ (ตัวอย่างเช่น ทองคำแท่ง) จริงๆ แต่คุณจะซื้อขาย "สัญญาฟิวเจอร์ส" ซึ่งขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงราคาตามเวลาจริงของสินทรัพย์อ้างอิงนั้นๆ ด้วยเหตุนี้ หากราคาซื้อทองคำเพิ่มขึ้นราคาที่ซื้อขายก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน

เทรดเดอร์เปิดสถานะ "ซื้อ" หากพวกเขาคิดว่าราคาจะเพิ่มขึ้น หรือสถานะ "ขาย" หากพวกเขาคิดว่าราคาจะลดลง

ความแตกต่างระหว่าง CFD เงินสด, CFD ฟิวเจอร์ส และ CFD สปอตของสินค้าโภคภัณฑ์คืออะไร

ความแตกต่างหลักระหว่างการซื้อขายเงินสด ฟิวเจอร์ส และสปอตของ CFD สินค้าโภคภัณฑ์คือรูปแบบการกำหนดราคา

  • CFD เงินสดสินค้าโภคภัณฑ์: สินค้าโภคภัณฑ์แบบเงินสดเป็นผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ ซึ่งจัดส่งเพื่อแลกกับการชำระเงิน สัญญาสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์แบบเงินสดจะระบุจำนวนที่แน่นอนของสินค้าโภคภัณฑ์ที่จะส่งมอบ วันที่ส่งมอบ และราคา บริษัทจะเก็งกำไรในราคาเฉพาะสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ที่พวกเขาวางแผนที่จะใช้ จากนั้นทำสัญญาสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์แบบเงินสด
  • CFD ฟิวเจอร์สสินค้าโภคภัณฑ์: ราคาฟิวเจอร์สของสินค้าโภคภัณฑ์จะกำหนดราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้าสำหรับการทำธุรกรรมในอนาคต "ราคาฟิวเจอร์ส" นี้ขึ้นอยู่กับราคาสปอตปัจจุบันของสินค้าโภคภัณฑ์นั้นๆ บวกค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บหรือขนส่งสำหรับช่วงเวลาก่อนการจัดส่ง ดอกเบี้ยประกันภัยและค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นๆ จะรวมอยู่ในค่าจัดเก็บหรือขนส่งแล้ว
  • CFD สปอตสินค้าโภคภัณฑ์: ราคาสปอตของสินค้าโภคภัณฑ์คือราคาปัจจุบันสำหรับการซื้อการชำระเงินและการส่งมอบสินค้าโภคภัณฑ์นั้นทันที (ณ จุดนั้น)

 

ทำไมต้องซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์

นักลงทุนและเทรดเดอร์ซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน บางคนสนใจในความผันผวนสูงของสินค้าโภคภัณฑ์บางอย่าง ซึ่งอาจนำไปสู่ผลตอบแทนที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ศักยภาพในการให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นมักจะมาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงขึ้น

ส่วนผู้เข้าร่วมตลาดคนอื่นๆ เห็นว่าสินค้าโภคภัณฑ์เป็นการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ ทองคำเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ได้รับความนิยมมากที่สุดที่นักลงทุนใช้เพื่อป้องกันตัวเองจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น

สินค้าโภคภัณฑ์ยังสามารถช่วยในการกระจายความเสี่ยงได้อีกด้วย นักลงทุนที่ส่วนใหญ่เข้าถึงหุ้นและพันธบัตรได้อาจต้องการเพิ่มสินค้าโภคภัณฑ์ในพอร์ตโฟลิโอ เพื่อลดให้เหลือสินทรัพย์เพียงสองประเภทที่ตนมีความเสี่ยง เทรดเดอร์อาจพิจารณาเพิ่มน้ำมันทองคำหรือทองแดงลงในรายการเครื่องมือการซื้อขายของตน เพื่อขยายขอบเขตหรือทดสอบกลยุทธ์ในตราสารที่แตกต่างกัน วิธีนี้จะมีประโยชน์หากประเภทสินทรัพย์หลักที่พวกเขาซื้อขายกำลังประสบกับความผันผวนต่ำหรือสภาพแวดล้อมของตลาดที่ไม่เหมาะสมกับกลยุทธ์การซื้อขายของตน

 

วิธีการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์

ทุกคนที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและมีคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนสามารถเข้าถึงตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ได้ และเริ่มต้นได้แม้จะมีเงินทุนจำกัด นี่คือคำแนะนำสั้นๆ ทีละขั้นตอนเกี่ยวกับวิธีการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์โดยใช้ CFD:

  1. เลือกโบรกเกอร์ที่มีชื่อเสียง: มองหาโบรกเกอร์ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล มีชื่อเสียงที่ดีในตลาด และนำเสนอสินค้าโภคภัณฑ์เต็มรูปแบบที่คุณต้องการซื้อขาย
  2. เปิดบัญชีซื้อขาย: เมื่อคุณเลือกโบรกเกอร์ของคุณแล้ว คุณจะต้องเปิดบัญชีซื้อขาย ขั้นตอนนี้ควรเป็นขั้นตอนที่ง่ายและฟรี โปรดทราบว่า โบรกเกอร์ที่มีชื่อเสียงจะกำหนดให้คุณต้องยืนยันตัวตนของคุณ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาความปลอดภัยและการป้องกันการฉ้อโกง
  3. นำเงินทุนเข้าบัญชีของคุณ: เมื่อบัญชีของคุณได้รับการยืนยันแล้ว คุณจะต้องฝากเงินเพื่อเริ่มต้นการซื้อขาย โบรกเกอร์ส่วนใหญ่ยอมรับการฝากเงินในสกุลเงินทั่วไป ซึ่งรวมถึง USD, EUR และ GBP
  4. เลือก CFD สินค้าโภคภัณฑ์ที่จะซื้อขาย: เลือกสินค้าโภคภัณฑ์ที่คุณต้องการซื้อขาย เครื่องมือยอดนิยมได้แก่ น้ำมัน ทองคำ ทองแดง และก๊าซธรรมชาติ
  5. หากลยุทธ์การซื้อขายของคุณ: ซึ่งเป็นการตัดสินใจว่าคุณต้องการลงทุนเท่าใด การตั้งค่าคำสั่ง Stop-loss และ Take-profit และการกำหนดความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของคุณเอง นอกจากนี้คุณควรพิจารณาว่า คุณพร้อมที่จะขาดทุนมากน้อยเพียงใดหากการซื้อขายไปเป็นไปตามที่คุณคิด
  6. ส่งคำสั่งซื้อขาย: ขั้นตอนนี้เป็นการเลือกจำนวนเงินที่คุณต้องการลงทุนการเลือกทิศทางการซื้อขาย (ซื้อหรือขาย) และการตั้งค่าคำสั่ง Stop-loss และ Take-profit ของคุณ
  7. คอยตรวจสอบการซื้อขายของคุณ: เมื่อคุณเปิดการซื้อขายแล้วให้จับตาดูอย่างใกล้ชิดว่าผลการดำเนินงานเป็นอย่างไรเพื่อให้คุณสามารถจำกัดการสูญเสียและปกป้องผลกำไรได้

หากคุณยังใหม่กับการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ สิ่งสำคัญยิ่งคือต้องศึกษาวิธีการทำงานของตลาดและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้คุณควรพิจารณาเริ่มต้นเส้นทางการลงทุนด้วยเงินจำนวนเล็กน้อยที่คุณยินดีที่จะเสีย หากการซื้อขายไม่เป็นไปตามที่คุณคิด

 

ข้อดีของการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์คืออะไร

สินค้าโภคภัณฑ์เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่มีการซื้อขายกันมากที่สุดในโลก ซึ่งก็เพราะ

  • สภาพคล่อง: ตลาดอนุพันธ์ขนาดใหญ่สำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งประกอบด้วยผู้สร้างสภาพคล่อง นักเก็งกำไร ผู้ถัวความเสี่ยง และบริษัท ทำให้เป็นตลาดที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งหมายความว่าเทรดเดอร์สามารถซื้อและขายได้อย่างง่ายดาย เช่น เข้าซื้อและรีบขายเมื่อต้องการ นอกจากนี้ยังหมายความว่า ตลาดนี้เปิดกว้างและโปร่งใสมากกว่า ซึ่งค่าใช้จ่ายในการซื้อขายเครื่องมือนั้นก็ถูกกว่าในตลาดที่ไม่มีสภาพคล่องและไม่สามารถถูกปั่นราคาได้ง่ายๆ

    สินค้าโภคภัณฑ์บางอย่างมีสภาพคล่องมากกว่าสินค้าอื่นๆ ตัวอย่างเช่น ทองคำและน้ำมันเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีการซื้อขายมากที่สุดทั่วโลก ในทางกลับกัน สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ข้าวโพดและถั่วเหลือง มีสภาพคล่องน้อยกว่าและการเคลื่อนไหวของราคาอาจเป็นไปอย่างไม่แน่นอน
  • มาร์จิ้นต่ำ: เงินฝากมาร์จิ้นที่จำเป็นในการเริ่มต้นการซื้อขายล่วงหน้าอาจต่ำถึง 5 -10% ของมูลค่ารวมของสัญญา ข้อกำหนดมาร์จิ้นที่ต่ำกว่าช่วยให้เทรดเดอร์สามารถควบคุมสถานะที่มีขนาดใหญ่ขึ้นโดยใช้เงินทุนน้อยลงเป็นมาร์จิ้น
  • ความสามารถในการป้องกันความเสี่ยง: ผู้เข้าร่วมในตลาดที่มีความเสี่ยงต่อสินค้าโภคภัณฑ์ทางกายภาพอาจต้องการลดความเสี่ยงโดยการซื้อขายในตลาดอนุพันธ์นี้ แทนที่จะมองหากำไรจากสถานะซื้อขาย เป้าหมายของพวกเขาคือการป้องกันตัวเองจากการแกว่งตัวของราคาที่ไม่พึงประสงค์
  • การกระจายพอร์ต: นักลงทุนที่รู้สึกว่ามีสินทรัพย์มากเกินไป เช่น หุ้น สามารถเลือกการลงทุนในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์เพื่อกระจายพอร์ตการลงทุนของตนได้ โดยทำได้ผ่านวิธีต่อไปนี้
  1. Exchange Traded Funds (ETFs) โดยอาศัยทองคำ น้ำมัน หรือสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ
  2. สถานะฟิวเจอร์สโดยอาศัยทองคำ น้ำมัน หรือสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ
  3. หุ้นของบริษัทผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ (ทั้งหุ้นที่มีความพิเศษเฉพาะตัว เช่น บริษัทเหมืองแร่ทองคำรายใหญ่หรือผู้ผลิตที่มีความหลากหลายอย่างกว้างขวาง)
  4. สถานะ CFD โดยอาศัยสัญญาซื้อขายฟิวเจอร์สสินค้าโภคภัณฑ์
  • การป้องกันเงินเฟ้อ: ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงที่เงินเฟ้อสูง ทองคำเป็นหนึ่งในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อที่มีชื่อเสียงที่สุดและความต้องการของนักลงทุนมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเมื่ออัตราเงินเฟ้ออยู่ในช่วงขาขึ้น

 

การซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์มีความเสี่ยงอะไรบ้าง

  • ความผันผวน: สินค้าโภคภัณฑ์เป็นสินค้าที่มีความผันผวน ความผันผวนสามารถนำไปสู่โอกาสในการซื้อขายมากขึ้นแต่ยังมีความเสี่ยงมากขึ้น
  • เหตุการณ์ไม่คาดคิด: มักจะไม่มีคำเตือนเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญ (เช่น ความไม่มั่นคงทางภูมิศาสตร์การเมืองหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ) ที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ ทำให้เทรดเดอร์ไม่ทันตั้งตัว ในขณะที่ความเสี่ยงนี้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เสียทั้งหมด แต่เทรดเดอร์ก็สามารถใช้คำสั่ง Stop-loss เพื่อจำกัดการขาดทุนได้
  • การไม่มีประสบการณ์ในตลาด: ผู้เริ่มต้นในการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ควรศึกษาผลิตภัณฑ์ที่มี เอกลักษณ์ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อราคาของสิ่งนั้นๆ ผู้เริ่มต้นอาจพบว่าจะเป็นประโยชน์กว่าหากจะเริ่มต้นด้วยการซื้อขายผลิตภัณฑ์ที่มีสภาพคล่องสูง เช่น ทองคำหรือน้ำมัน ผลิตภัณฑ์ที่มีสภาพคล่องน้อย เช่น น้ำตาลหรือถั่วเหลือง มีแนวโน้มที่จะมีการแกว่งราคาที่ผิดปกติและมีข้อมูลน้อยกว่า

 

พร้อมที่จะเทรดในความได้เปรียบในแบบของคุณหรือยัง?

เข้าร่วมกับเทรดเดอร์หลายหมื่นรายและซื้อขายหุ้น CFD ในฟอเร็กซ์ หุ้น ดัชนี สินค้าโภคภัณฑ์ และสกุลเงินดิจิทัล!

 

 

ข้อมูลนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำ หรือข้อเสนอในการซื้อหรือขาย หรือการชักชวนเกี่ยวกับข้อเสนอในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน หรือเครื่องมือทางการเงินใดๆ หรือให้เข้าร่วมในกลยุทธ์การซื้อขายใดๆ ข้อมูลนี้ได้รับการจัดเตรียมโดยไม่ได้พิจารณาถึงวัตถุประสงค์ สถานการณ์ทางการเงิน หรือความต้องการของคุณ การอ้างอิงผลการดำเนินงานในอดีตและการคาดการณ์ต่างๆ ไม่ใช่ตัวชี้วัดที่น่าเชื่อถือสำหรับผลในอนาคต Axi ไม่รับรองและไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อความถูกต้องและความสมบูรณ์ของเนื้อหาในสิ่งพิมพ์นี้ ผู้อ่านควรหาคำแนะนำด้วยตนเอง

FAQ


ราคาสปอตของสินค้าโภคภัณฑ์คืออะไร

ราคาสปอตของสินค้าโภคภัณฑ์คือราคาเงินสดในประเทศนั้นๆ ที่ใช้ซื้อและจัดส่งทันที ("ณ จุดซื้อขาย") การทำธุรกรรมในตลาดสปอตจะได้รับการชำระภายในไม่กี่วัน


ราคาฟิวเจอร์สของสินค้าโภคภัณฑ์คืออะไร

ราคาฟิวเจอร์สของสินค้าโภคภัณฑ์คือข้อตกลงเกี่ยวกับราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้าสำหรับการทำธุรกรรมในอนาคต ซึ่งคำนวณโดยการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บหรือขนส่งในช่วงระหว่างเวลาก่อนส่งมอบไปจนถึงราคาสปอตปัจจุบันของสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งรวมถึงดอกเบี้ยประกันภัยและค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นๆ


การซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ดีสำหรับผู้เริ่มต้นหรือไม่

การซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์อาจเป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับผู้เริ่มต้นเพราะความสะดวกสบายและความยืดหยุ่น แพลตฟอร์มการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ออนไลน์นั้นไม่ซับซ้อนและใช้งานง่าย นักลงทุนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้ เช่น ราคาตามเวลาจริง แผนภูมิ ข่าวฟิวเจอร์ส สิ่งอำนวยความสะดวกการวิจัยและการซื้อขาย และแม้กระทั่งความช่วยเหลือออนไลน์ผ่าน AI และระบบอัตโนมัติ

ที่ Axi เราอยากมั่นใจว่าเทรดเดอร์ใหม่ทุกคนมีเครื่องมือและความรู้ที่จำเป็นในการตัดสินใจอย่างชาญฉลาดและกลายเป็นเทรดเดอร์ที่ทำกำไรได้ โปรดดูหลักสูตร วิดีโอ และคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ของเรา


ต้องใช้เงินเท่าใดในการเริ่มต้นซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์

จำนวนเงินที่ต้องใช้ในการเริ่มต้นซื้อขายจะถูกกำหนดโดยสองปัจจัย คือ เงินฝากขั้นต่ำและมาร์จิ้นเริ่มต้น

เงินฝากขั้นต่ำคือจำนวนเงินที่จำเป็นเพื่อเปิดบัญชีซื้อขาย

มาร์จิ้นเริ่มต้นคือจำนวนเงินที่จำเป็นในการดำเนินการและเปิดการซื้อขายไว้ เมื่อซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์กับ Axi ข้อกำหนดอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นจะอยู่ระหว่าง 5% และ 10%


เลเวอเรจสูงสุดที่ฉันสามารถใช้ในการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์คือเท่าใด

เลเวอเรจช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเลือกซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ได้โดยระบุเพียงเศษส่วนของมูลค่าการซื้อขายเต็มรูปแบบเป็นมาร์จิ้น จำนวนเลเวอเรจสูงสุดที่เทรดเดอร์ใช้ได้จะขึ้นอยู่กับภูมิภาคและข้อบังคับเฉพาะที่ควบคุมการซื้อขายในพื้นที่นั้นๆ อัตราส่วนเลเวอเรจเหล่านี้จะขยายทั้งผลกำไรและการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น ทำให้เทรดเดอร์ต้องจัดการความเสี่ยงอย่างระมัดระวังและใช้เลเวอเรจอย่างมีความรับผิดชอบ ตรวจสอบว่าได้ดูตารางเวลาผลิตภัณฑ์ของโบรกเกอร์ของคุณเพื่อดูเลเวอเรจสูงสุดที่มี


สินค้าโภคภัณฑ์เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือไม่

ความเสี่ยงในการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุปทานและอุปสงค์ในตลาด แนวโน้มตลาดนั้นคาดเดาไม่ได้เพราะราคาสินค้าโภคภัณฑ์รับอิทธิพลได้จากทุกสิ่ง ตั้งแต่รูปแบบสภาพอากาศไปจนถึงโรคระบาดและภัยธรรมชาติ คุณจะต้องคำนึงถึงสิ่งนี้เมื่อบริหารความเสี่ยงของคุณ


Axi มี CFD สินค้าโภคภัณฑ์อะไรบ้าง

โปรดดูตารางผลิตภัณฑ์ของเราสำหรับรายการทั้งหมดของ CFD เงินสดสินค้าโภคภัณฑ์, CFD ฟิวเจอร์สสินค้าโภคภัณฑ์ และ CFD สปอตทองคำแท่งที่ซื้อขายกับ Axi ได้



Milan Cutkovic

Milan Cutkovic

Milan Cutkovic มีประสบการณ์ในการเทรดและการวิเคราะห์ตลาดทั้งฟอเร็กซ์ ดัชนี คอมโมดิตี้ และหุ้น มาเป็นเวลากว่าแปดปี เขายังเป็นหนึ่งในเทรดเดอร์รายแรกๆ ที่ได้รับการยอมรับเข้ามาใน Axi Select ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เฟ้นหาเทรดเดอร์มากความสามารถเพื่อนำมาพัฒนาให้เป็นมืออาชีพ

ควบคู่ไปกับการเป็นเทรดเดอร์ Milan เป็นผู้เขียนบทวิเคราะห์รายวันให้กับชุมชน Axi โดยใช้ความรู้ที่กว้างขวางเกี่ยวกับตลาดการเงินต่างๆ ในการจัดทำข้อมูลเชิงลึกและบทความแสดงความคิดเห็นที่เป็นเอกลักษณ์ เขาชื่นชอบการช่วยเหลือผู้อื่นให้ประสบความสำเร็จในการเทรดมากขึ้น และแบ่งปันทักษะของเขาด้วยการจัดทำอีบุ๊คเกี่ยวกับการเทรดที่ครบรอบด้านและเผยแพร่บทความที่ให้ความรู้บนบล็อก Axi เป็นประจำ พอร์ทัลสื่อและหนังสือพิมพ์ระหว่างประเทศชั้นนำยังอ้างอิงผลงานของเขาอยู่บ่อยครั้งด้วย

Milan มักได้รับการอ้างอิงและกล่าวถึงในสื่อด้านการเงินต่างๆ มากมาย ทั้ง Yahoo Finance, Business Insider, Barrons, CNN, Reuters, New York Post และ MarketWatch

ทำความรู้จักกับเขาใน: LinkedIn


More on this topic

อ่านเพิ่มเติม

พร้อมที่จะเทรดในความได้เปรียบในแบบของคุณหรือยัง?

เริ่มการซื้อขายกับโบรกเกอร์ระดับโลกที่ได้รับรางวัล

ลองบัญชีทดลอง ฟรี เปิดบัญชีเทรดจริง